การประเมิน Embedded Carbon และ CBAM Certification
โดย ผศ.ดร. ภานุวัฒน์ อุส่าห์เพียร - BSI, Product Manager
เมื่อไม่นานมานี้ สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ประกาศเริ่มใช้มาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) กับสินค้า 5 ประเภทที่จะส่งเข้าขายในกลุ่มประเทศยุโรป ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของ European Green Deal ที่นำมาปรับใช้เพื่อเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2036 กลไก CBAM เป็นกลไกที่ป้องกันการเกิด Carbon Leakage จากระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading System: ETS) ที่สหภาพยุโรปได้มีการนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2005 หลักการประเมินคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ในกลไก CBAM จะมีความคล้ายคลึงกับการประเมินคาร์บอน ในระบบ ETS นั่นคือจะมุ่งเน้นพิจารณาเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์เท่านั้น และหน่วยที่ใช้ในการประเมินจะอ้างอิงกับความเข้มข้นคาร์บอนผลิตภัณฑ์ หรือ Carbon Intensity เราเรียกการประเมินแบบนี้ว่า “Embedded Carbon”
การประเมิน Embedded Carbon จะประกอบไปด้วย การปล่อยทางตรง (Direct Emission) และการปล่อยทางอ้อม (Indirect Emission) แสดงดังสมการด้านล่าง
จากสมการจะเห็นได้ว่าการคำนวณ Embedded Carbon มีความแตกต่างจากการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ซึ่งวัสดุช่วยในกระบวนการผลิตจะไม่ถูกนำมาพิจารณาในการประเมิน รวมถึงการขนส่งและการได้มาของวัตถุดิบตั้งต้นที่ไม่ได้อยู่ใน List CBAM (Precursors) ก็ไม่ต้องนำมาพิจารณาเช่นดียวกัน การคำนวณ CBAM Embedded Carbon จะออกมาในรูปแบบของ Carbon Intensity ของผลิตภัณฑ์
ที่มา: (European Commission, 2024)
ประเภทของสินค้าใน CBAM
ประเภทของสินค้าใน CBAM แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Simple goods และ Complex goods การประเมินค่า Embedded Carbon จะพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้า ในขณะที่สินค้าที่เป็น Complex Goods จะพิจารณาในลักษณะเดียวกันแต่จะเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม จากวัตถุดิบที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของ CBAM ด้วย
ประเภทของก๊าซเรือนกระจก
สำหรับ CBAM ได้มีการกำหนดประเภทของก๊าซเรือนกระจกที่จะต้องนำมาคำนวณในสินค้า 5 ประเภท และประเภทของก๊าซเรือนกระจก ดังต่อไปนี้
วิธีการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า (ตามแนวทาง CBAM)
กรณีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- พิจารณาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจริง (ตรวจวัด)
- ในกรณีที่ไม่สามารถรายงานผลตรวจวัดจริงได้ ให้พิจารณาจากค่า Default value ซึ่งกำหนดไว้ที่ความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซ (Carbon intensity) โดยเฉลี่ยของประเทศผู้ส่งออกแต่ละประเทศ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพัฒนาวิธีการคำนวณเหล่านี้ตามข้อมูลจริงหรือเอกสารที่มีอยู่
- ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ค่า Default value จะประเมินจาก ความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเฉลี่ย (Carbon intensity average) ของกระบวนการผลิตในสหภาพยุโรปที่มีประสิทธิภาพแย่ที่สุด 10% สำหรับสินค้าประเภทนั้น
กรณีไฟฟ้า
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกไฟฟ้านำเข้าจะกำหนดโดยการอ้างอิงกับค่า Default value เว้นแต่ผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตเลือกที่จะกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจริง
- ค่า Default value สำหรับไฟฟ้านำเข้าจะพิจารณาจากค่า Default Value ของแต่ละประเทศ เฉพาะสำหรับประเทศนอกสหภาพยุโรป กรณีกลุ่มประเทศหรือภูมิภาคนอกสหภาพยุโรป ไม่มีค่าเหล่านั้น ใช้ค่า Default value ของสหภาพยุโรปสำหรับการผลิตไฟฟ้าที่คล้ายคลึงกันใน สหภาพยุโรป
ตัวอย่าง สินค้าปุ๋ยไนโตรเจน 1 ตัน มีค่า Embedded Carbon Emission เท่ากับ 10.48 tCO2e/tN ปุ๋ยไนโตรเจนในระบบ Emission Trading System (ETS) ให้สิทธิการปล่อยแบบให้เปล่า 1 ตัน เท่ากับ 2 tonCO2eq ราคา CER CBAM 1 tonCO2eq เท่ากับ 150 บาท ให้คำนวณหาปริมาณ Embedded Carbon ส่วนเกิน หากมีการนำเข้าปุ๋ยไนโตรเจนดังกล่าวเข้าไปในกลุ่มประเทศยุโรป (EU) จำนวน 1000 ตัน
จากสมการ:
Surrendering obligation = Embedded emission – reduction for carbon price paid abroad – adjustment to reflect free allocation within the EU
Embedded emission = 10.48 tCO2e/tN x 1000 tN = 10,480 tCO2e
Adjustment to reflect free allocation within the EU = 2 tCO2e/tN x 1000 tN = 2,000 tCO2e
Surrendering obligation = 10,480 – 2,000 = 8,480 tCO2e
ค่าธรรมเนียมคาร์บอนส่วนเกิน = 8,480 tCO2e x 150 baht = 1,272,000 Baht