Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์
ถ้าจะกล่าวถึงคำที่ตรงกับความหมายมากที่สุด คือ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ การคิดและมีการตอบสนองออกมาอัตโนมัติของระบบคอมพิวเตอร์ ตาม ISO/IEC 22989:2020 ได้ให้คำจัดกัดความไว้ว่า AI คือ "ความสามารถในการได้เรียนรู้ ประมวลผล สร้างสรรค และประยุกต์ใช้ความรู้ ที่จัดขึ้นในรูปแบบของแบบจำลอง เพื่อดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายตั้งแต่หนึ่งงานขึ้นไป"
Machine Learning หรือการเรียนรู้ของเครื่อง
หรืออาจหมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถพัฒนาตัวมันเองได้จากการศึกษาจากข้อมูลที่มีการกำหนด หรือ การป้อนข้อมูลให้ คอมพิวเตอร์ทำความเข้าใจผ่านอัลกอริทึม และมีการส่งผลออกมาจากการเรียนรู้ ตาม ISO/IEC 22989:2020 ได้ให้คำจัดกัดความไว้ว่า ML คือ “กระบวนการปรับ พารามิเตอร์รูปแบบให้เหมาะสมผ่านเทคนิคการคำนวณ เพื่อให้พฤติกรรมของรูปแบบ (Model) สะท้อนถึงข้อมูลหรือประสบการณ์”
Deep learning หรือการเรียนรู้ในเชิงลึก
โดยเป็นความสัมพันธ์หรือหลักจากที่มีการเรียนรู้จากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ให้มีความเข้าใจมากขึ้น หรือลงรายละเอียดมากขึ้น เช่น จากการจัดหมวดหมู่ต่าง ๆ ของข้อมูล หรือสามารถวิเคราะห์ให้เกิดผลลัพธ์ได้ ตาม ISO/IEC 22989:2020 ได้ให้คำจัดกัดความไว้ว่า “วิธีการสร้างการแสดงลาดับชั้นที่สมบูรณ์ผ่านการฝึกอบรมของโครงข่ายประสาทเทียม (neural network) ที่มีระดับซ่อนอยู่จำนวนมาก” ซึ่งการเรียนรู้เชิงลึกเป็นส่วนย่อยของ ML
Algorithm หรือชุดของคำสั่งที่สร้างไว้ตามขั้นตอน
มายถึงกระบวนการ หรือชุดของกฎที่ใช้ในการคำนวณและการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ โดยเป็นการคำนวนหรือดำเนินการจากระบบของคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ISO/IEC 22989:2020 ได้กำหนดคำจำกัดความของ Machine Learning Algorithm ไว้ว่า “ขั้นตอนวิธีกำหนดพารามิเตอร์ของรูปแบบการเรียนรู้ของเครื่องจากข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด”
Chatbot แชทบอท หรือเจ้าหน้าที่ในการให้ข้อมูลลูกค้า
แชทบอทนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการนำ AI มาต่อยอด เพื่อที่จะให้ทำงานหรือให้ข้อมูลเบื้องต้นจากการดำเนินการตามคีย์เวิดที่มีการกำหนดเอาไว้จากผู้ดูแลระบบ
Data mining คือเหมืองข้อมูล
ซึ่งมีการจัดทำรูปแบบเอาไว้อยู่ในชุดข้อมูลต่าง ๆ โดยที่สามารถระบุถึงความสัมพันธ์ และเทรนด์ของข้อมูลที่มีการจัดทำหรือรวมข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ ซึ่ง ISO/IEC 22989:2020 ได้อธิบายไว้ว่า “การทำเหมืองข้อมูลหมายถึงการประยุกต์ใช้อัลกอริธึมสำหรับการค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง แปลกใหม่ และมีประโยชน์จากข้อมูล การทำเหมืองข้อมูลเริ่มมีชื่อเสียงในช่วงปลายทศวรรษ 1990 และได้รับการยอมรับว่าแตกต่างจากวิธีการทางสถิติก่อนหน้านี้ สถิติแบบดั้งเดิมเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอที่จะตอบคำถามเฉพาะเจาะจงได้ โดยทั่วไปแล้วการทำเหมืองข้อมูลจะใช้กับข้อมูลที่มีวัตถุประสงค์ใหม่เพื่อค้นหาคำตอบโดยประมาณหรือความน่าจะเป็นที่เหมาะกับรูปแบบ การทำเหมืองข้อมูลถือเป็นขั้นตอนการสร้างแบบจำลองอัลกอริทึมในกระบวนการ KDD (Knowledge discovery in data) ที่สมบูรณ์ ความพยายามในการทำเหมืองข้อมูลในระยะเริ่มต้น กลุ่มสมาคมสามารถให้รายละเอียดขั้นตอนทั้งหมดในการทำเหมืองข้อมูลในมาตรฐานอุตสาหกรรม CRISP-DM ที่เผยแพร่ในปี 2543 การทำเหมืองข้อมูลครอบคลุมเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงแผนผังการตัดสินใจ การจัดกลุ่ม และการจำแนกประเภท เมื่อเทคโนโลยี Big data ถือกำเนิดขึ้นในช่วงกลางปี 2000 การประยุกต์ใช้อัลกอริทึมจึงไม่สามารถแยกออกจากการจัดเก็บข้อมูลได้อีกต่อไป และการสุ่มตัวอย่างอย่างระมัดระวังทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นำไปสู่คำอธิบายใหม่ของกระบวนการวงจรชีวิตของ KDD เวอร์ชันข้อมูลขนาดใหญ่ในฐานะกิจกรรมของวิทยาศาสตร์ข้อมูล แม้ว่า KDD และการค้นพบความรู้จะเป็นคำศัพท์ทั่วไปใน AI แต่สิ่งที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นข้อมูล”
Prompt Engineer คือ ตำแหน่งวิศกร
มีความรับผิดชอบกี่ยวกับการดึงประสิทธิภาพสูงสุดของ AI มาใช้ ผ่านคำสั่งที่ป้อนเข้าไป (prompt) และให้ AI ตอบกลับได้ตรงความต้องการ โดยคำสั่งที่มีการป้อนเข้าไป คือ Input และผลลัพธ์ที่ AI ตอบเรากลับมา คือ Output