ข้อแตกต่างระหว่าง CFO-TGO กับ ISO 14064-1
แนวทางการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของ อบก. (CFO-TGO) มีพื้นฐานมาจากมาตรฐาน GHG Protocol และ ISO 14064-1 รวมถึงมาตรฐานอื่น ๆ และจัดทำเป็นคู่มือข้อกำหนดในการคำนวณและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ดังนั้นเมื่อได้รับการทวนสอบรับรองในส่วนของตามแนวทาง อบก. หากต้องการอ้างอิงไปในส่วนการทวนสองรับรอง ISO 14064-1 ควรต้องศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดเพื่อพิจารณาเน้นในบางกระบวนการมากขึ้น และการอ้างอิงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เปิดเผย ไม่จำเพาะที่ อบก. ประกาศใช้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะจัดทำตามแนวทาง อบก. หรือ ISO 14064-1 ก็มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาภูมิอากาศ (Climate change action)
กรณีองค์กรท่านดำเนินการตามแนวทาง อบก. อยู่แล้ว ทำให้องค์กรท่านมีความพร้อมในการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เนื่องด้วยวัตถุประสงค์การรายงานและการอ้างถึงในระดับสากล รวมถึงเส้นทางการเป็นกลางทางคาร์บอน เช่น
- ความต้องการของบริษัทแม่ต่างประเทศ
- รายงานความยั่งยืนในระดับสากล
- แนวทางการไปสู่ ISO 14068-1 Carbon Neutrality transition to Net zero
- แนวทางอ้างอิงระดับสากลอื่นๆ
เรามาดูข้อมูลเปรียบเทียบภาพรวม ข้อกำหนด และขอบข่ายของทั้ง CFO-TGO และ ISO 14064-1 กัน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเลือกมาตรฐานได้ตรงกับความต้องการขององค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยสรุปสิ่งที่แตกต่างหลักต้องพิจารณาเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดไปสู่ ISO14064-1 คือ
- การทบทวนกำหนดจำแนกประเภทกิจกรรม Category
- การอ้างค่า GWP version ล่าสุด กรณีใช้ Version อื่น ให้ระบุเหตุผล
- เน้นระบบการจัดการคุณภาพข้อมูลสารสนเทศเชิงระบบ
- การประเมินความไม่แน่นอนแบบเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ
อย่างไรก็ตามการใช้แบบฟอร์มตามแนวทาง อบก. CFO-TGO สามารถอ้างอิงมาขอการทวนสอบ ISO 14064-1 ได้ โดยเพิ่มรายละเอียด และเน้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การรายงานขององค์กรแลผู้มีส่วนได้เสีย (Intended User) ให้มากที่สุด
ตารางเปรียบเทียบภาพรวมของมาตรฐาน CFO-TGO และ ISO 14064-1 :