“หัวข้อประเด็นสำคัญ (Materiality)” เป็นหนึ่งในหลักที่สำคัญในการจัดเตรียมรายงาน ESG ที่ดี หัวข้อประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงในนี้จะหมายถึงเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทใช้ในการพิจารณาว่าประเด็นด้านESG มีความสำคัญอย่างเพียงพอและสมควรเปิดเผยต่อนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ โดยมาตรฐานสากล / แนวทาง (เช่น มาตรฐาน GRI /TCFD) กล่าวถึงหัวข้อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ว่าทุกประเด็นจะเกี่ยวข้องกับทุกบริษัท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บริษัทดำเนินงาน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ9 ซึ่งบริษัทผู้เผยแพร่รายงานอาจพิจารณาเลือกนำเสนอเฉพาะประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจของตนเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบริษัท ในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าหัวข้อประเด็นใดมีนัยสำคัญต่อธุรกิจของตน และจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในรายงาน ESG ตามลำดับ
การประเมินหัวข้อประเด็นสำคัญภายในบริษัท (Internal materiality assessment)
การประเมินหัวข้อประเด็นสำคัญภายในควรดำเนินการโดยผู้จัดการอาวุโสและ/หรือพนักงานหลัก ไม่แนะนำให้บริษัทจัดจ้างบุคคลภายนอกเพื่อประเมินหัวข้อประเด็นสำคัญภายในให้ในกรณีที่พนักงานภายในมีความรู้ความสามารถที่เพียงพอ เนื่องจากพนักงานบริษัทจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์แวดล้อมของบริษัทมากกว่า บุคลากรของบริษัทจึงเหมาะสมกว่าในการระบุและจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อประเด็นสำคัญ วิธีการประเมินสามารถหาความรู้ได้จากองค์กรผู้ให้การอบรมต่างๆ
ในการเตรียมการประเมินประเด็นสำคัญภายใน บริษัทควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
- พันธกิจโดยภาพรวมและกลยุทธ์การแข่งขัน ค่านิยมองค์กร นโยบาย กลยุทธ์ ระบบการบริหารจัดการการปฏิบัติงาน การประเมินผลกระทบ เป้าหมาย และจุดมุ่งหมาย รวมถึงกรอบการบริหารความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง และการศึกษา/การวินิจฉัยที่เกี่ยวข้อง
- กฎหมาย ข้อบังคับ ความตกลงระหว่างประเทศ หรือข้อตกลงโดยสมัครใจที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อบริษัท
- หัวข้อหลักและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับภาคอุตสาหกรรมของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำแนวทางและทรัพยากรปัจจุบันที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาด้วย
- พิจารณาจากกรอบเพื่อกำหนดแนวทางในการทำรายงาน ESG ต่างๆที่มีหรือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจรวมถึงของEU เช่น Non-Financial Reporting Directive (NFRD)
การประเมินประเด็นสำคัญภายนอก (External materiality assessment)
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเครื่องมือสำคัญที่บริษัทสามารถใช้ในการระบุ พัฒนา และบรรลุการตอบสนองเชิงกลยุทธ์ที่เชื่อถือได้ต่อประเด็นด้านESG และเนื่องจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียควรเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานประจำวันของบริษัท จึงไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะเพื่อการจัดเตรียมรายงาน ESG นี้แต่อย่างใด
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะช่วยให้บริษัทรายงานในเรื่องต่อไปนี้
- เข้าใจความคาดหวัง ความสนใจ และความต้องการข้อมูล ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ตระหนักถึงผลกระทบของธุรกิจของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และในทางกลับกันผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อบริษัท
- ระบุหัวข้อประเด็นสำคัญด้าน ESG เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสเท่าที่เป็นไปได้
การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือองค์กรหรือบุคคลที่สามารถคาดหวังอย่างสมเหตุสมผลว่า เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการของบริษัทและ/หรือ
- มีการกระทำที่คาดหวังได้อย่างสมเหตุสมผลว่าจะส่งผลต่อความสามารถของบริษัท ในการดำเนินกลยุทธ์และบรรลุวัตถุประสงค์
จำนวนและขนาดของผู้มีส่วนได้เสีย จะขึ้นอยู่กับธุรกิจ อุตสาหกรรม และปัจจัยอื่น ๆ ของบริษัท กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกอาจรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงบุคคลและ/หรือองค์กรดังต่อไปนี้
- Investors/ shareholders/ members (นักลงทุน/ผู้ถือหุ้น/สมาชิก)
- Customers and potential customers(ลูกค้าและผู้มุ่งหวัง)
- Suppliers/ business partners(ซัพพลายเออร์/ พันธมิตรทางธุรกิจ)
- Government and regulators (รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล)
- NGOs and lobby groups (NGO และกลุ่มผู้นำมวลชน)
- Local communities (ชุมชนท้องถิ่น)
- Competitors/ peers ( คู่แข่ง/เพื่อนร่วมอุตสาหกรรม)
- Experts and specialists (e.g. professional/industry associations and academia) ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการ (เช่น สมาคมวิชาชีพ/อุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา)
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จและความยั่งยืนในระยะยาว บริษัทผู้เผยแพร่ฯ ควรพัฒนาความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และรักษาความมีส่วนร่วมไว้อย่างต่อเนื่อง
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ในการประสานงาน เพื่อให้มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- รวบรวมรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดโดยปรึกษากับแผนกต่างๆ (เช่น สื่อสารองค์กร/ประชาสัมพันธ์ ทรัพยากรบุคคล นักลงทุนสัมพันธ์ การขายและการตลาด การจัดซื้อ กฎหมาย รัฐสัมพันธ์ ฯลฯ)
- คัดกรองรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมในการทำงาน ซึ่งหากคณะทำงาน ESG มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรในการติดต่อตัวแทนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ให้เน้นเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักเท่านั้น
- เลือกวิธีการประสานงาน สื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งอาจประกอบด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- Written comments / responses (ความเห็น/ คำตอบเป็นลายลักษณ์อักษร)
- Telephone discussions (การพูดคุยทางโทรศัพท์)
- Conferences (การประชุม)
- ประชุม (ส่วนบุคคลหรือ AGM)
- Workshops (สัมมนาเชิงปฏิบัติการ)
- Advisory committees (คณะกรรมการที่ปรึกษา)
- Round-table discussions (การอภิปรายแบบโต๊ะกลม)
- Focus groups (การสนทนากลุ่ม)
- Questionnaire/ online engagement (แบบสอบถาม/ การประสานงานผ่านทางออนไลน์)
- ประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักเพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ
- สร้างแผนปฏิบัติการเพื่อจัดการกับข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญและเกี่ยวข้องที่สุด
ผลลัพธ์การประเมินประเด็นสำคัญ Outcomes of a materiality assessment
คณะกรรมการของบริษัทมีความรับผิดชอบสูงสุดในการกำหนดเกณฑ์ว่าประเด็น ESG ใดที่มีความสำคัญเพียงพอในการเปิดเผยข้อมูลต่อนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ผ่านรายงาน ESG ในการพิจารณารายงานข้อมูลตามที่กำหนดตามแนวทาง "ปฏิบัติตามหรืออธิบาย" สำหรับหัวข้อต่าง ๆ ในด้าน ESG ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญ บริษัทควร:
- เปิดเผยข้อมูลตามที่ต้องการ หรือ
- ในกรณีที่ตัดสินใจไม่เปิดเผยข้อมูล ให้ระบุเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจนี้ในรายงาน ESG
ทำความเข้าใจกับแผนภูมิหัวข้อประเด็น Understanding the materiality matrix
แผนภูมิจะแสดงตำแหน่งของแต่ละหัวข้อ ESG บนแผนภูมิตัวชี้วัดหัวข้อประเด็นสำคัญ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้จัดทำรายงานและผู้อ่านรายงานในเรื่องนัยยะสำคัญ โดยสะท้อนมุมมองความสำคัญเชิงเปรียบเทียบของคณะกรรมการบริษัทต่อบริษัท ไม่ใช่ข้อกำหนดที่ต้องใส่ไว้ในรายงาน แต่มักใส่ไว้ในรายงานเสมอ ซึ่งมักมีรายละเอียดดังนี้
ลักษณะการรายงานตามนัยยะสำคัญ
Quadrant I : การเปิดเผยข้อมูลทั่วไป, KPI และปัจจัย ESG ที่อยู่ในแผนภูมิตัวชี้วัดหัวข้อประเด็น ที่ถูกจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องเปิดเผยในรายงาน ESG
Quadrant II and Quadrant IV : สำหรับกรณีที่เป็น “ประเด็นสำคัญบางส่วน” บริษัทสามารถระบุได้ว่าข้อมูลตามที่กำหนดตามแนวทาง "ปฏิบัติตามหรืออธิบาย" นั้นเป็นประเด็นสำคัญบางส่วนสำหรับธุรกิจของตน ซึ่งในกรณีนี้บริษัทผู้เผยแพร่ฯ ควรพิจารณาเปิดเผยข้อมูลบางส่วนโดยสอดคล้องกัน
Quadrant III : หัวข้อที่ไม่ได้เป็นหัวข้อประเด็นสำคัญ (Topics that are not material) : การรายงานข้อมูลตามที่กำหนดตามแนวทาง "ปฏิบัติตามหรืออธิบาย" (หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อมูลตามที่กำหนดดังกล่าว) อาจไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญต่อบริษัท ในกรณีนี้ บริษัทสามารถเลือกดำเนินการดังต่อไปนี้
- เปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดต่อไป หรือ
- เลือกไม่เปิดเผยข้อมูล ซึ่งในกรณีนี้ควรอธิบายเหตุผลโดยอ้างอิงกระบวนการและผลลัพธ์ของการประเมินหัวข้อประเด็นสำคัญ